วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

เผยแพร่ผลงาน

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง





ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านสวาย

สูตรคณิต

การวิเคราะห์ข้อสอบอัตนัย
การวิเคราะห์ข้อสอบอัตนัยจะต้องทำการแบ่งกลุ่มนักเรียนที่เข้าสอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเก่ง (กลุ่มสูง) และกลุ่มอ่อน (กลุ่มต่ำ) โดยใช้เทคนิค 25 % ของจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ วิธีการคำนวณจะต้องใช้สูตรของ D.R.Sabers (1970) ดังนี้
ดัชนีค่าความยาก (PE) มีสูตร ดังนี้



ดัชนีค่าอำนาจจำแนก (D) มีสูตร ดังนี้



เมื่อ PE แทน ดัชนีค่าความยาก
SU แทน ผลรวมของคะแนนกลุ่มเก่ง
SL แทน ผลรวมของคะแนนกลุ่มอ่อน
N แทน จำนวนผู้เข้าสอบของกลุ่มเก่ง หรือกลุ่มอ่อน (เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง)
Xmax แทน คะแนนที่นักเรียนทำได้สูงสุด
Xmin แทน คะแนนที่นักเรียนทำได้ต่ำสุด
D แทน ดัชนีค่าอำนาจจำแนก

ตัวอย่าง 7.6 แบบทดสอบอัตนัยฉบับหนึ่งหลังจากที่นำไปทดสอบกับนักเรียนและตรวจให้คะแนนแล้วจึงทำการแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเก่ง และกลุ่มอ่อนด้วยเทคนิค 25 %
จากข้อมูลในตารางข้างล่างเป็นคะแนนของข้อสอบข้อที่ 1 (ซึ่งมีคะแนนเต็มเท่ากับ 5 คะแนน) จงหาค่าความยากและอำนาจจำแนก




ข้อสอบอัตนัยข้อที่ 1 มีค่าความยากเท่ากับ 0.68

ข้อสอบอัตนัยข้อที่ 1 มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.46

การแปลความหมาย การแปลความหมายค่าความยาก และอำนาจจำแนกของข้อสอบอัตนัย จะใช้หลักการเช่นเดียวกันกับการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงกลุ่ม

บทสรุป
การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบ เป็นการตรวจสอบว่าแบบทดสอบนั้น ๆ มีคุณภาพดีเพียงใด หลังจากที่นำแบบทดสอบไปใช้ และตรวจให้คะแนนแล้ว การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบจะกระทำใน 2 ลักษณะ คือ การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบรายข้อ หรือการวิเคราะห์ข้อสอบ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพิจารณาความยาก (difficulty) และค่าอำนาจจำแนก (discrimination) ส่วนการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบทั้งฉบับนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อพิจารณาความเที่ยงตรง (validity) และ ความเชื่อมั่น (reliability)
การวิเคราะห์ข้อสอบ มีแนวคิดในการหาคุณภาพ 2 แนวคิด คือ การวิเคราะห์ข้อสอบตามแนวคิดอิงกลุ่มและอิงเกณฑ์ โดยการวิเคราะห์ข้อสอบตามแนวคิดอิงกลุ่มจะพิจารณาในเรื่องความยากและอำนาจจำแนก ส่วนการวิเคราะห์ข้อสอบตามแนวคิดอิงเกณฑ์จะพิจารณาเฉพาะค่าอำนาจจำแนกเท่านั้น

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านสวาย

ยินดีต้อนรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนบ้านสวาย
การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย
การวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัย (Essay Item)แนวคิด หลักการข้อสอบแบบอัตนัย เป็นข้อสอบที่การตรวจให้คะแนนไม่ใช่แบบ 0-1 เหมือนแบบ Multiple Choice Item และการให้คะแนนแต่ละข้อจะไม่เท่ากัน รูปแบบการวิเคราะห์จะแตกต่างกับแบบ 0-1 ผลการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอัตนัยจะบ่งชี้ข้อมูลที่สำคัญ 3 ประการ เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ แบบ 0-1 ได้แก่· ค่าดัชนีอำนาจจำแนกของข้อสอบแต่ละข้อ (Index of Discrimination)· ค่าดัชนีความยากของข้อสอบแต่ละข้อ (Index of Difficulty)· ค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับ (Reliability)การวิเคราะห์ ค่าดัชนีอำนาจจำแนกของข้อสอบ และ ค่าดัชนีความยากของ ข้อสอบแต่ละข้อ ในที่นี้ เลือกใช้ตามวิธีของ D.R Whitney และ D.L Sabers (อ้างอิงใน โกวิท ประวาลพฤกษ์ , 2527 : 276) และการวิเคราะห์ ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ใช้วิธี หาค่า Coefficient Alpha (a) ของ Cronbrach (1951)ค่าดัชนีอำนาจจำแนกของข้อสอบแต่ละข้อ หมายถึง ตัวเลขที่บ่งชี้คุณภาพของข้อสอบแต่ละข้อว่า มีความสามารถจำแนกผู้ที่เข้าสอบที่มีความรู้ความสามารถจริง หรือ ผ่านจุดประสงค์อย่างแท้จริง และ ผู้ที่ยังไม่มีความรู้ความสามารถ หรือ ไม่ผ่าน จุดประสงค์ ออกจากกันได้หรือไม่เพียงใดค่าดัชนีความยากของข้อสอบแต่ละข้อ หมายถึง ตัวเลขสัดส่วนที่บ่งชี้ถึง ความยากของข้อสอบแต่ละข้อ โดยคิดเปรียบเทียบค่าคะแนนที่ได้จริงของทั้ง 2 กลุ่มเปรียบเทียบกับคะแนนสูงสุดที่เป็นไปได้ ของทั้งสองกลุ่ม เช่น ข้อสอบข้อที่ 1 คะแนนเต็ม 5 คะแนน (คะแนนสูงสุด) และ คะแนนต่ำสุดคือ 0 คะแนน ตัวเลขนี้ คือ ตัวเลขคะแนนสูงสุดและต่ำสุดที่เป็นไปได้สมมติผู้เข้าสอบที่นำมาวิเคราะห์ 20 คนคะแนนจริงที่ได้ของทุกคนทั้งหมดรวมกัน = 57 คะแนนคะแนนที่เป็นไปได้สูงสุดคือ 20x5 = 100 คะแนนค่าดัชนีความยาก = 57/100 = 0.57โอกาสเป็นไปได้ว่า คะแนนต่ำสุดอาจจะกำหนดไว้ ไม่ใช่ 0 ดังนั้น สูตรการคำนวณ จะเป็นดังนี้










SH หมายถึง ผลรวมของคะแนนกลุ่มสูง

SL หมายถึง ผลรวมของคะแนนกลุ่มต่ำ

XMax หมายถึง คะแนนสูงสุดที่เป็นไปได้ (คะแนนเต็มของข้อสอบข้อนั้น ๆ)

XMin หมายถึง คะแนนต่ำสุดที่เป็นไปได้ (คะแนนต่ำสุดของข้อสอบข้อนั้น ๆ)

NT หมายถึง จำนวนนักเรียนทั้งกลุ่มสูงกลุ่มต่ำ

NH หมายถึง จำนวนนักเรียนในกลุ่มสูง


กระบวนการในการวิเคราะห์


1. นำข้อสอบไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง ปกติที่เชื่อถือได้ จะใช้กลุ่มตัวอย่าง ประมาณ 100 คนขึ้นไป

2. ตรวจให้คะแนนแต่ละข้อแต่ละฉบับ (แต่ละคน)

3. รวมคะแนนของของข้อสอบแต่ละฉบับ

4. เรียงคะแนนจากสูงสุดไปยังต่ำสุด

5. คัดเลือกเอากลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดเรียงลงมา จำนวน ร้อยละ 25 ของจำนวน ทั้งหมด เช่นผู้เข้าสอบ 100 คน คัดมาจำนวน 25 คน เป็นต้น เรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มสูง

6. ในทำนองเดียวกันคัดเลือก กลุ่มต่ำ มา ร้อยละ 25 เช่นเดียวกัน

7. นำข้อมูลการตอบข้อสอบไป Tally และนำไปคำนวณ ค่าดัชนีความยาก จากสูตร

8. คำนวณหาค่าดัชนีอำนาจจำแนก จากสูตร



SH หมายถึง ผลรวมของคะแนนกลุ่มสูง


SL หมายถึง ผลรวมของคะแนนกลุ่มต่ำ


XMax หมายถึง คะแนนสูงสุดที่เป็นไปได้ (คะแนนเต็มของ ข้อสอบข้อนั้น ๆ)


XMin หมายถึง คะแนนต่ำสุดที่เป็นไปได้ (คะแนนต่ำสุดของ ข้อสอบข้อนั้น ๆ)


NH หมายถึง จำนวนนักเรียนในกลุ่มสูง





9 . คำนวณหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ จากสูตร