วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

สูตรคณิต

การวิเคราะห์ข้อสอบอัตนัย
การวิเคราะห์ข้อสอบอัตนัยจะต้องทำการแบ่งกลุ่มนักเรียนที่เข้าสอบออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเก่ง (กลุ่มสูง) และกลุ่มอ่อน (กลุ่มต่ำ) โดยใช้เทคนิค 25 % ของจำนวนนักเรียนที่เข้าสอบ วิธีการคำนวณจะต้องใช้สูตรของ D.R.Sabers (1970) ดังนี้
ดัชนีค่าความยาก (PE) มีสูตร ดังนี้



ดัชนีค่าอำนาจจำแนก (D) มีสูตร ดังนี้



เมื่อ PE แทน ดัชนีค่าความยาก
SU แทน ผลรวมของคะแนนกลุ่มเก่ง
SL แทน ผลรวมของคะแนนกลุ่มอ่อน
N แทน จำนวนผู้เข้าสอบของกลุ่มเก่ง หรือกลุ่มอ่อน (เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง)
Xmax แทน คะแนนที่นักเรียนทำได้สูงสุด
Xmin แทน คะแนนที่นักเรียนทำได้ต่ำสุด
D แทน ดัชนีค่าอำนาจจำแนก

ตัวอย่าง 7.6 แบบทดสอบอัตนัยฉบับหนึ่งหลังจากที่นำไปทดสอบกับนักเรียนและตรวจให้คะแนนแล้วจึงทำการแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มเก่ง และกลุ่มอ่อนด้วยเทคนิค 25 %
จากข้อมูลในตารางข้างล่างเป็นคะแนนของข้อสอบข้อที่ 1 (ซึ่งมีคะแนนเต็มเท่ากับ 5 คะแนน) จงหาค่าความยากและอำนาจจำแนก




ข้อสอบอัตนัยข้อที่ 1 มีค่าความยากเท่ากับ 0.68

ข้อสอบอัตนัยข้อที่ 1 มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.46

การแปลความหมาย การแปลความหมายค่าความยาก และอำนาจจำแนกของข้อสอบอัตนัย จะใช้หลักการเช่นเดียวกันกับการวิเคราะห์ข้อสอบแบบอิงกลุ่ม

บทสรุป
การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบ เป็นการตรวจสอบว่าแบบทดสอบนั้น ๆ มีคุณภาพดีเพียงใด หลังจากที่นำแบบทดสอบไปใช้ และตรวจให้คะแนนแล้ว การตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบจะกระทำใน 2 ลักษณะ คือ การตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบรายข้อ หรือการวิเคราะห์ข้อสอบ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพิจารณาความยาก (difficulty) และค่าอำนาจจำแนก (discrimination) ส่วนการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบทั้งฉบับนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อพิจารณาความเที่ยงตรง (validity) และ ความเชื่อมั่น (reliability)
การวิเคราะห์ข้อสอบ มีแนวคิดในการหาคุณภาพ 2 แนวคิด คือ การวิเคราะห์ข้อสอบตามแนวคิดอิงกลุ่มและอิงเกณฑ์ โดยการวิเคราะห์ข้อสอบตามแนวคิดอิงกลุ่มจะพิจารณาในเรื่องความยากและอำนาจจำแนก ส่วนการวิเคราะห์ข้อสอบตามแนวคิดอิงเกณฑ์จะพิจารณาเฉพาะค่าอำนาจจำแนกเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น